วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ลักษณะโครงสร้างหน้าเว็บ

หน้าเว็บไซด์แนวตั้ง


http://www.hunsa.com



ขนาด 1024 X 768

การจัดวางตำแหน่ง

ส่วนหัว

Logo : อยู่ซ้ายบนสุด

Banner : อยู่ด้านบนตรงกลาง

Menu : อยู่ตรงกลางใต้ Logo & Banner เป็นแบบ Roll-Over ด้วยรูปภาพ Hyper Link

ส่วนเนื้อหา

พาดหัว : เป็นกล่อง Highlight อยู่ตรงกลาง

เมนู : อยู่ด้านซ้าย เป็นแบบ Roll-Over ด้วย Hyper Text

ส่วนท้าย

เมนู : อยู่ด้านล่างสุดเต็มหน้า เป็นแบบ Roll-Over ด้วย Hyper Text

Copyright : อยู่ด้านล่างเต็มหน้า

ที่อยู่ : อยู่ด้านล่างเต็มหน้า


หน้าเว็บไซด์แนวนอน


http://www.thehorizontalway.com/



ขนาด 800 X 600



หน้าเว็บไซด์แบบพอดีหน้าจอ


http://game.hunsa.com


ขนาด 1024 X 768

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้สีแบบ Split-complementary



การใช้สีแบบผสม เป็นการผสมผสานระหว่างสีโทนร้อนและเย็น โดยเริ่มจากการเลือกสีใดสีหนึ่ง และจับคู่กับอีก 2 สี ในโทนสีตรงข้ามกัน

ตัวอย่างเว็บไซด์

การใช้สีแบบ Complementary


การใช้สีตรงข้ามกัน สามารถช่วยเน้นความโดดเด่นได้ดี ควรใช้สีดำหรือเทา เพื่อลดความรุนแรงของสี นอกจากนั้นการใช้สี 2 สีที่แตกต่างกันมาก จะทำให้มีความสำคัญเท่ากัน ดังนั้นจึงควรลดความเข้มของสีหนึ่งลง

ตัวอย่างเว็บไซด์

การใช้สีแบบ Analogous


การใช้สีใกล้เคียงกัน โดยเลือกจากสีที่ถัดไปอีก 2-3 สี สามารถสร้างความกลมกลืนได้ดี

ตัวอย่างเว็บไซด์

การใช้สีแบบ Triads



การใช้สี 3 สีจากคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกัน ควรทดลองใช้หลายรูปแบบ เพื่อสร้างความแตกต่าง

ตัวอย่างเว็บไซด์

การใช้สีแบบ Monochromatic



การใช้สีเดียว สร้างความแตกต่างด้วยระดับ ความมืด-สว่างของสี


ตัวอย่างเว็บไซด์





เปรียบเทียบระบบสี RGB กับ CMYK

ระบบสี RGB


ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึมจะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำกว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เราได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น

ระบบสี CMYK


ระบบสี CMYK เป็นระบบสีของ......... สาร (วัตถุ).....หรือที่เรียกว่า............ "รงควัตถุ"


การผสมสี


การผสมสีแบบนี้เรียกว่า การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing)


ระบบสี CMYK มีแม่สีพื้นฐาน 3 สี

  1. สีฟ้าไซแอน (Cyan)
  2. สีแดงมาเจนต้า(Magenta)

  3. สีเหลือง(Yellow)


เมื่อนำแม่สีมาผสมกันเป็นคู่ๆ จะได้สี 3 สี คือ

  1. สีแดง (Red).....................(สีแดงมาเจนต้า ผสมกับ สีเหลือง ).............M + Y = R

  2. สีเขียว (Green).................(สีฟ้าไซแอน ผสมกับ สีเหลือง )...............C + Y = G

  3. สีน้ำเงิน (Blue)..................(สีฟ้าไซแอน ผสมกับ สีแดงมาเจนต้า).......C + M = B


การใช้ประโยชน์ทางการออกแบบ


สีฟ้าไซแอน (Cyan) สีแดงมาเจนต้า (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์

และมีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ (Black) เข้าไป จึงมีสี่สี



โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี (CMYK)



แหล่งที่มา http://netra.lpru.ac.th/~weta/unit1/index.html

The Color Wheel


วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

อักษรไทย สมัยพ่อขุนรามคำแหง



1.อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
2.สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3.สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4.สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5.สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6.สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7 สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8.ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ